16 May 2020
ภาษีการรับมรดก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ภาษีมรดก เป็นภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกสำหรับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละรายที่มูลค่ารวมสุทธิเกิน 100 ล้านบาทโดยจัดการเก็บภาษีในอัตราสูงสุด 10% สำหรับมรดกในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท โดยมีหน่วยกรมสรรพากรเป็นหน่วยเก็บภาษี
ภาษีมรดกเป็นภาษีที่มาพร้อมกับ ภาษีการรับการให้ เพื่อจัดเก็บภาษีจากการถ่ายโอนมรดกเมื่อเจ้าของมรดกเสียชีวิต รวมถึงการดักทางไม่ให้ทำการเลี้ยงภาษีมรดกโดยการเก็บภาษีการให้สำหรับการถ่ายโอนทีพย์สินก่อนที่เจ้าของมรดกจะเสียชีวิตด้วย ซึ่งมรกดที่จะต้องยื่นเสียภาษีได้แก่
1. อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และต่างประเทศ
2. หลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุนตราสารหนี้ และตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะออกโดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือในต่างประเทศ
3. เงินฝาก หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ
4. ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานทางทะเบียนได้แก่ รถยนต์ เรือ รถจักรยานยนต์ ทั้งที่จดทะเบียนในประเทศไทยและต่างประเทศ
5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎหมายในอนาคต
สำหรับอัตราภาษีมรดกที่ต้องเสียจะคิดเฉพาะมูลค่ามรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ตามอัตรา ดังนี้
1. เสียภาษีมรดก 5% สำหรับบุพการีและผู้สืบสันดาน
- บุพการี ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด
- ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ บุตรบุญธรรม บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
2. เสียภาษีมรดก 10% สำหรับคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่บุพการีและผู้สืบสันดาน
16 May 2020
18 May 2020